วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด 4.7

6.ถ้ามีแบเรียมคลอไรด์ (BaCI2) 2.08 กรัม ต้องการเตรียมสารละลายเข้มข้น 0.0500 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ก. จะสามารถเตรียมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เฉลย เตรียมไม่ได้ เพราะใช้ BaCI2 1,000 cm3 ต้องมี BaCI2 อยู่ 0.05 mol
                                      BaCI2 400 cm3 ต้องมี BaCI2 อยู่ 0.05*400/1000 = 0.02 mol
แต่มี BaCI2 อยู่เพียง 0.01 mol
ข. จะสามารถเตรียมสารละลายเข้มข้น 0.0500 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตรมากที่สุดเท่าใด
เฉลย เตรียมได้ 200 cm3 มี BaCI2 อยู่ 0.05 mol สามารถเตรียมสารละลายได้ 1000 cm3
                                     แต่มี BaCI2 อยู่ 0.01 mol  สามารถเตรียมสารละลายได้  =  1000*0.01/0.05 = 200 cm3
7. ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของสารละลายผสมต่อไปนี้มีค่าเท่าใด (เมื่อถือว่าปริมาตรของสารละลายผสมมีค่าเท่ากับผลรวมของปริมาตรของสารละลายเริ่มต้น)
ก. สารละลายซิงค์เฟต(ZnSO4) 0.600 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 70.0 ลูกบาศก์เดซิเมตร กับ
น้ำ 500.0 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เฉลย สารละลาย 1000 cm3 มี ZnSO4 ละลายอยู่ = 0.6 mol
         สารละลาย 70 cm3 มี ZnSO4 ละลายอยู่ 0.6*70/1000 = 0.042 mol
ผสมน้ำ 500 cm3 สารละลายผสมจะมีปริมาตร 500+70= 570 cm3
         สารละลาย 570 cm3 มี ZnSO4 ละลายอยู่ = 0.042 mol
         สารละลาย 1000 cm3 มี ZnSO4 ละลายอยู่ 0.042 *1000/ 570= 0.072 mol/dm3
ข.สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCI) 1.00 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร กับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2.00 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เฉลย สารละลาย 1000 cm3 มี HCI ละลายอยู่ = 1 mol
         สารละลาย 200 cm3 มี HCI ละลายอยู่ 1*200/1000 = 0.2 mol
และสารละลาย HCI 0.2 mol/dm3 จำนวน 100 cm3
         สารละลาย 1000 cm3 มี HCI ละลายอยู่ = 0.2 mol
         สารละลาย 100 cm3 มี HCI ละลายอยู่ 0.2*100/1000 = 0.2 mol
สารละลายผสมจำนวน 200 + 100 cm3 จะมี HCI ละลายอยู่ 0.2+0.2  = 0.4 mol
สารละลายผสมจำนวน 1000 cm3 มี HCI ละลายอยู่ = 0.4*1000/300 = 1.33 mol/dm3
8. จงคำนวณหาปริมาตรของสารละลายเริ่มต้น ที่ต้องนำมาใช้ในการเตรียมสารละลายดังต่อไปนี้
ก. เตรียมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCI) 6.00 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 12.0 โมลต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
เฉลย C1 V1 = C2 V2
      12*V1 = 6*500
             V1 = 6*500/12
             V1 = 250 cm3
ข. เตรียมสารละลายกรดไนตริก (HNO3) 1.00 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 16.0 โมลต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
เฉลย C1 V1 = C2 V2
      16*V1 = 1*100
             V1 = 1*100/16
             V1 = 6.25 cm3